จดทะเบียนสมรส
คุณสมบัติของผู้จดทะเบียนสมรส
- บุคคลทั้งสองจะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ กรณีผู้เยาว์ต้องนำบิดามารดาหรือผู้ปกครองมาให้ความยินยอมด้วย
- กรณีอายุต่ำกว่า 18 ปี จะต้องได้รับอนุญาตจากศาล
- ไม่เป็นคนวิกลจริต หรือไร้ความสามารถ
- ไม่เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดา หรือร่วมแต่บิดามารดา
- ไม่เป็นคู่สมรสของบุคคลอื่น
- ผู้รับบุตรบุญธรรมจะสมรสกับบุตรบุญธรรมไม่ได้
- หญิงที่ชายผู้เป็นคู่สมรสตายหรือการสมรสสิ้นสุดลงด้วยประการอื่น จะสมรสใหม่ได้ต่อเมื่อสิ้นสุดการสมรสไปแล้วไม่น้อยกว่า 310 วัน เว้นแต่
- คลอดบุตรแล้วในระหว่างนั้น
- ศาลมีคำสั่งให้สมรสได้
- สมรสกับคู่สมรสเดิม
- บุคคลที่มีอายุไม่ครบ 18 ปีบริบูรณ์ ศาลอาจอนุญาตให้สมรสได้
- มีใบรับรองแพทย์ว่าไม่ได้ตั้งครรภ์
เอกสารที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนสมรส
1. เอกสารของคู่สมรส
- คู่สมรสสัญชาติไทย 1) บัตรประจำตัวประชาชน และ 2) ทะเบียนบ้าน
- คู่สมรสฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเป็นชาวต่างชาติ 1) หนังสือเดินทาง 2) หนังสือรับรองความเป็นโสดของคู่สมรสที่เป็นชาวต่างชาติ มีอายุไม่เกิน 3 เดือน และ 3) ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนหย่า (หากคู่สมรสเคยหย่ามาก่อน)
2. เอกสารพยาน (อายุ 20 บริบูรณ์ขึ้นไป)
- พยานสัญชาติไทย: บัตรประจำตัวประชาชน
- พยานชาวต่างชาติ: หนังสือเดินทาง
ขั้นตอนการจดทะเบียนสมรส
- จัดส่งสำเนาเอกสารข้างต้นมาให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
- เมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารครบถ้วนแล้ว ท่านจะได้รับการติดต่อกลับเพื่อยืนยันนัดหมาย
- ในวันนัดหมาย คู่สมรสต้องนำพยานมาด้วย 2 คนโดยพยานต้องมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ พร้อมเอกสารต้นฉบับทั้งหมดมาในวันและเวลาที่นัดหมาย
ระยะเวลาดำเนินการอยู่ที่ประมาณ 1 ชั่วโมง กรณีเอกสารครบถ้วน
เนื่องจากการจดทะเบียนสมรส/ หย่าที่สถานเอกอัครราชทูตฯ มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายไทยเท่านั้น กรณีที่ผู้ร้องประสงค์ให้การสมรส/ หย่ามีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายสวิส โปรดติดต่อขอจดทะเบียนที่สำนักทะเบียนท้องถิ่นของสวิสหรือลิกเตนสไตน์ หรือจดทะเบียนที่ว่าการเขต/ อำเภอในประเทศไทย แล้วนำไปรับรองนิติกรณ์และนำไปยื่นกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของสวิตเซอร์แลนด์ต่อไป (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรับรองนิติกรณ์เอกสารได้ที่นี่)
แบบฟอร์ม คำร้องขอจดทะเบียนสมรส
แบบฟอร์ม บันทึกถ้อยคำการจดทะเบียนสมรส